หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่11 สอบ

   การกำหนดมาตรฐานคุณภาพของครูในการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ครูจะต้องทำกิจกรรม 7 อย่างคือ
 1) การวิเคราะห์หลักสูตร 2) การวิเคราะห์ผู้เรียน 3) การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย 4) การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน  5) การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ  6) การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ  7) การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของตน
     
จากประเด็นดังกล่าว นักศึกษาจะนำวิธีดังกล่าวมาจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร เมื่อนักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  (ข้อสอบ 20 คะแนน) ยกตัวอย่างออกแบบการจัดการเรียนรู้
ตอบ
 
1)           การวิเคราะห์หลักสูตร ครูจะต้อง
 -ศึกษาหลักการจุดหมายของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544
  -
ศึกษามาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นของกลุ่มสาระการเรียน
  -กำหนดผลการเรียนรู้รายปี/รายภาค
        - จัดทำคำอธิบายรายวิชา
         -จัดทำโครงสร้างหน่วยการเรียนรู้
         -จัดทำหนังสือ/ตำราตามคำอธิบายรายวิชาที่ได้วิเคราะห์ไว้
    2)    การวิเคราะห์ผู้เรียน คือ
         เป็นการวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียนเพื่อที่ผู้สอนจะได้ทราบว่าผู้เรียนมี ความพร้อมในการเรียนมากน้อยเพียงใดทั้งนี้เพราะการที่จะใช้สื่อให้ได้ผลดีย่อมจะต้องเลือกสื่อให้มีความสัมพันธ์กับลักษณะผู้เรียน ดังนั้นผู้สอนจะต้องคำนึงถึงลักษณะทั่วไปและลักษณะเฉพาะของผู้เรียน เช่น การกำหนดลักษณะทั่วไป ซึ่งได้แก่  อายุ  ระดับความรู้  สังคม  เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของผู้เรียนแต่ละคน ถึงแม้ว่าลักษณะทั่วไปของผู้เรียนจะไม่มี ความเกี่ยวข้องกับเนื้อหาบทเรียนก็ตามแต่ก็เป็น สิ่งที่ช่วยให้ผู้สอนสามารถตัดสินระดับของบทเรียนและเพื่อเลือกตัวอย่างของเนื้อหาให้เหมาะสมกับผู้เรียนได้  ส่วนลักษณะเฉพาะของผู้เรียนแต่ละคนนั้น นับว่ามีส่วนสำคัญโดยตรงกับ เนื้อหาบทเรียนตลอดจนสื่อการสอนและวิธีการที่จะนำมาใช้ในการสอน
   3)      การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย
     ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมให้ผู้เรียนนำความรู้ไปใช้นี้ ครูควรจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนแสดงความสามารถในลักษณะต่าง และเปิดโอกาสให้มีความหลากหลาย เพื่อตอบสนองความสามารถเฉพาะที่ผู้เรียนแต่ละคนมีความสามารถในด้านต่าง 8 ด้าน ได้แก่
                   1.  ความสามารถด้านภาษา  เป็นความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อแสดงความคิดเห็น  แสดงความรู้สึก  สามารถใช้ภาษาเพื่ออธิบายเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย  เข้าใจชัดเจน  สามารถใช้ภาษาในการโน้มน้าวจิตใจของผู้อื่น
                   2.  ความสามารถด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ เป็นความสามารถในการใช้ตัวเลข ปริมาณ การคิดคาดการณ์ในการจำแนก จัดหมวดหมู่ คิดคำนวณ และตั้งสมมุติฐาน มีความไวต่อการเห็นความสัมพันธ์ตามแบบแผนทางตรรกวิทยาในการคิดที่เป็นเหตุเป็นผล
                   3.  ความสามารถด้านภาพมิติสัมพันธ์  เป็นความสามารถด้านการสร้างแบบจำลอง  3  มิติของสิ่งแวดล้อมต่าง ในจินตนาการของตน  สามารถคิดและปรับปรุงการใช้พื้นที่ได้ดี  มีความไวต่อสี  เส้น  รูปร่าง  เนื้อที่และมองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งเหล่านั้น  และสามารถแสดงออกเป็นรูปร่าง/รูปทรงในสิ่งที่เห็นได้
                   4.  ความสามารถด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว  เป็นความสามารถในการใช้ร่างกายทั้งหมดหรือบางส่วน  แสดงถึงความรู้สึกนึกคิด  มีทักษะทางกายที่แข็งแรง  รวดเร็ว  คล่องแคล่ว  ยืดหยุ่น  มีความไวทางประสาทสัมผัส
                   5.  ความสามารถด้านดนตรี เป็นความสามารถในเรื่องของจังหวะ ทำนองเพลง มีความสามารถในการแต่งเพลง เรียนรู้จังหวะดนตรีได้จำดนตรีได้ง่ายและไม่ลืม
                  6.  ความสามารถด้านมนุษยสัมพันธ์ เป็นความสามารถในการเรียนรู้และเข้าใจถึงอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด ตลอดจนเจตนาของผู้อื่น เป็นผู้ที่ชอบสังเกตน้ำเสียง ใบหน้ากริยาท่าทาง และการสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น ให้ความสำคัญกับบุคคลอื่น มีความสามารถในการเป็นผู้นำ สามารถสื่อสารเพื่อลดความขัดแย้งได้
                   7.  ความสามารถในการเข้าใจตนเอง เป็นความสามารถในการรู้จักและเข้าใจอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดของตนเองได้ดี ฝึกฝนควบคุมตนเองได้ทั้งกายและจิต ติดตามสิ่งที่ตนเองสนใจและแสวงหาผลสำเร็จได้
                   8.  ความสามารถในด้านความเข้าใจสภาพธรรมชาติ เป็นความสามารถในการรู้จักธรรมชาติ และเข้าใจลักษณะต่าง ของสิ่งแวดล้อม รักธรรมชาติ ชอบศึกษาชีวิตพืช สัตว์ และรักสงบ
          นอกจากการใช้เทคนิคการออกคำสั่งให้ผู้เรียนแสดงการทำงานในลักษณะต่างๆ แล้ว ครูอาจใช้วิธีการสอนบางวิธีที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความรู้ในสถานการณ์อื่นๆ ได้เช่นกัน เช่น วิธีสอนโดยให้จัดนิทรรศการ และการสอนโดยใช้โครงงาน โดยครูเป็นผู้กำกับควบคุมให้ผู้เรียนทุกคนได้ร่วมกันวางแผน ดำเนินการตามแผน และร่วมกันสรุปผลงาน ผู้เรียนแต่ละคนจะได้เลือกและแสดงความสามารถที่ตนเองถนัด เพื่อให้งานบรรลุเป้าหมาย จึงสามารถกล่าวขยายความได้ว่า การเรียนรู้ผ่านการให้จัดนิทรรศการและการสอนโดยใช้โครงงาน ซึ่งสามารถทำอย่างต่อเนื่องกันได้ โดยมีประเด็นดังนี้
(1)  ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ตนเองสนใจ
(2)  ผู้เรียนได้เรียนรู้หรือหาคำตอบด้วยตนเอง โดยการคิดและปฏิบัติจริง
(3)  วิธีการหาคำตอบมีความหลากหลายจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย
(4)  นำข้อมูลหรือข้อความรู้จากการศึกษามาสรุปเป็นคำตอบหรือข้อค้นพบของตนเอง
(5)  มีระยะเวลาในการศึกษาหรือแสวงหาคำตอบพอสมควร
(6)  คำตอบหรือข้อค้นพบเชื่อมโยงต่อการพัฒนาความรู้ต่อไป
(6)  ผู้เรียนมีโอกาสเลือก วางแผน และจัดการนำเสนอคำตอบของปัญหาหรือผลของการค้นพบด้วยวิธีการที่หลากหลายและสอดคล้องกับความถนัดและความสนใจของตนเอง
          จะเห็นได้ว่า ประเด็นที่กล่าวในข้อ 1–7 เป็นขั้นตอนของการใช้วิธีสอนโดยใช้โครงงาน สำหรับข้อ 7 เป็นประเด็นเกี่ยวกับการสอนโดยใช้การจัดนิทรรศการ ในการให้ผู้เรียนปฏิบัติ ครูควรใช้วิธีการกระตุ้นให้ผู้เรียนทำงานโดยใช้คำถาม เช่น
-          นักเรียนอยากรู้อะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้บ้าง ลองคิดซิว่าทำไมสนใจเรื่องนี้
-          เห็นแล้ว สงสัยไหมว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
-          น่าจะมีคำอธิบายมากกว่านี้หรือไม่
-          นักเรียนดูแล้วคิดอย่างไร
-          คำถามนักเรียนดีมาก ครูอยากให้ช่วยกันหาคำตอบ
ภาพการจัดการเรียนรู้โดยโครงงานและการจัดนิทรรศการ

   4)    การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน 
        ครูและนักเรียนสามารถเรียนรู้การใช้เทคโนโลยี ได้อย่างประสิทธิภาพ
-การเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี        
  การเรียนรู้ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ เรียนรู้จนสามารถใช้ระบบคอมพิวเตอร์ได้ ทำระบบข้อมูลสารสนเทศเป็น สื่อสารข้อมูลทางไกลผ่าน  Internet ได้
การเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี       
   การเรียนรู้ความรู้ใหม่ และฝึกความสามารถ ทักษะบางประการ โดยใช้สื่อเทคโนโลยี เช่น ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรียนรู้ทักษะใหม่  
    5)    การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ
    - ต้องวัดให้ตรงกับจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน คือ การวัดผลจะเป็นสิ่งตรวจสอบผลจากการสอน
ของครูว่า นักเรียนเกิดพฤติกรรมตามที่ระบุไว้ในจุดมุ่งหมายการสอนมากน้อยเพียงใด
    -
เลือกใช้เครื่องมือวัดที่ดีและเหมาะสม การวัดผลครูต้องพยายามเลือกใช้เครื่องมือวัดที่มีคุณภาพ ใช้เครื่องมือวัดหลาย อย่าง เพื่อช่วยให้การวัดถูกต้องสมบูรณ์
    -
ระวังความคลาดเคลื่อนหรือความผิดพลาดของการวัด เมื่อจะใช้เครื่องมือชนิดใด ต้องระวังความบกพร่องของเครื่องมือหรือวิธีการวัดของครู
    - ประเมินผลการวัดให้ถูกต้อง เช่น คะแนนที่เกิดจาการสอนครูต้องแปลผลให้ถูกต้องสมเหตุสมผลและ
มีความยุติธรรม
    -
ใช้ผลการวัดให้คุ้มค่า จุดประสงค์สำคัญของการวัดก็คือ เพื่อค้นและพัฒนาสมรรถภาพของนักเรียน ต้องพยายามค้นหาผู้เรียนแต่ละคนว่า เด่น-ด้อยในเรื่องใด และหาแนวทางปรับปรุงแก้ไขแต่ละคนให้ดีขึ้น


    6)    การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ 
   การประเมินผลจะต้องประเมินจากสภาพจริง ก็คือจากการเรียนมาทั้งหมดเพื่อที่จะรู้ว่านักเรียนได้มีการพัฒนามากน้อยแค่ไหนและควรที่จะแก้ไขปรับปรุงในส่วนใดบ้าง
         ประเมินผลจากสภาพจริงนั้นจะเน้นให้นักเรียนสามารถแก้ปัญหา เป็นผู้ค้นพบและผู้ผลิตความรู้ นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติจริง รวมทั้งเน้นพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนก็คือ
ความสำคัญของการประเมินผลจากสภาพจริง
1. การเรียนการสอนและการวัดประเมินผลจากสภาพจริง จะเอื้อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างเต็มศักยภาพของแต่ละบุคคล
2.
เป็นการเอื้อต่อการเรียนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง
3.
เป็นการเน้นให้นักเรียนได้สร้างงาน
4.
เป็นการผสมผสานให้กิจกรรมการเรียนรู้และการประเมินผล
5.
เป็นการลดภาระงานซ่อมเสริมของครู
   7)   การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของตน
       เป็นการเรียนรู้และการประเมินเพื่อการพัฒนาและหาประสิทธิภาพของนวัตกรรมนั้นๆไม่ว่าจะเป็นนวัตกรรมด้านวัสดุ อุปกรณ์และวิธีการ
       จากการกล่าวมาทั้งหมดเมื่อดิฉันได้ลงมือปฏิบัติการเรียนการสอนกับนักเรียนจริง  เราต้องเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญสอนจากง่าย ไปยาก สามารถหาสื่อการเรียนการสอนได้เหมาะสมกับวัย จัดหากิจกรรมที่หลากหลาย และเน้นให้ทุกคนกล้าแสดงออก กล้าพูด กล้าถาม ไม่เขินอายเวลาออกหน้าชั้นเรียน และการวัดผลนั้นจะเป็นสิ่งตรวจสอบผลจากการสอนของครูว่า นักเรียนเกิดพฤติกรรมตามที่ระบุไว้ในจุดมุ่งหมายการสอนมากน้อยเพียงใดการประเมินผลนั้นผู้สอนต้องพยายามเลือกใช้เครื่องมือวัดที่มีคุณภาพวัดหลาย อย่าง เพื่อช่วยให้การวัดถูกต้องสมบูรณ์ไม่คลาดเคลื่อนคะแนนที่เกิดจาการสอนครูต้องแปลผลให้ถูกต้องสมเหตุสมผลและต้องมีความยุติธรรม มีความปรารถนาที่ดีต่อเด็กเสมอ

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย                                                                         ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
แผนการเรียนรู้ที่ 4  การสร้างประสบการณ์สะกดคำ                   เวลา 1 ชั่วโมง
************************************************************************
1. สาระสำคัญ
1.1 คำไทยเกิดจากการนำรูปพยัญชนะ รูปสระ และวรรณยุกต์มาประสมกัน
1.2 การสะกดคำ และประสมคำได้ถูกต้องเป็นพื้นฐานของการใช้ภาษาไทย

2. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
2.1 นักเรียนสามารถสะกดคำโดยนำเสียงและรูปของพยัญชนะ สระและวรรณยุกต์ประสม
เป็นคำและอ่านได้ถูกต้อง
2.2 นักเรียนสามารถสะกดคำโดยนำเสียงและรูปของพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ประสมเป็นคำและเขียนคำได้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของภาษา

3. สาระการเรียนรู้
3.1 รูปพยัญชนะ
3.2 รูปสระ
3.3 รูปวรรณยุกต์
3.4 การสะกดคำและการประสมคำช่วยให้เกิดทักษะในการอ่านและรู้จักคำที่มีคำประสมมากขึ้น

4. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ขั้นนำ
1. ครูพานักเรียนทบทวนเรื่องพยัญชนะ  สระและวรรณยุกต์
2. ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับเรื่องพยัญชนะ  สระและวรรณยุกต์
3. ครูและนักเรียนอภิปรายสนทนาเกี่ยวกับ เรื่องพยัญชนะ  สระและวรรณยุกต์
ขั้นสอน
1.  นักเรียนฝึกสะกดคำ  ฝึกประสมคำ และเขียนตามคำบอกที่ครูบอก
2. ครูสอนให้นักเรียนรู้จักคำในมาตราตัวสะกดต่าง 
มาตรตาตัวสะกดแม่กง เช่น ชง มง ปง ลง
มาตราตัวสะกดแม่กน เช่น ชน มน ขน คน
มาตราตัวสะกดแม่กม เช่น ชม ขม ปม ดม
มาตราตัวสะกดแม่เกย เช่น สวย รวย ซวย มวย
มาตราตัวสะกดแม่เกอว เช่น สาว ลาว ขาว หาว
มาตราตัวสะกดแม่กก เช่น รก บก ดก หก
มาตราตัวสะกดแม่กด เช่น ปด หด สด ลด
มาตราตัวสะกดแม่กบ เช่น ขบ รบ สบ ตบ
3. แนะนำ ชี้แจงให้นักเรียนรู้จักอักษรนำ ซึ่งเป็นอักษรที่มี นำ และ นำ  เช่น หนู หนา หนี อย่า อยู่ อย่าง อยาก
4. ฝึกให้นักเรียนรู้จักการผันวรรณยุกต์ โดยเริ่มต้นที่นักเรียนรู้จักเครื่องหมายวรรณยุกต์ เช่น เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี และเสียงจัตวา ให้นักเรียนรู้จักเครื่องหมายต่าง   แล้วจึงให้นักเรียนรู้จักคำในมาตราต่าง    ที่เคยเรียนมาแล้วให้นำมาประสมกันและผันวรรณยุกต์  เช่น กาน ก่าน ก้าน ก๊าน ก๋าน    แปน แป่น แป้น แป๊น แป๋น
5. ฝึกให้นักเรียนอ่านคำที่มีคำควบกล้ำ และเห็นความแตกต่างของคำนั้น   เช่น รัก ลัก (รัก ที่ เป็นพยัญชนะต้นจะมีความหมายถึง การรัก หวงแหน ชื่นชอบ แต่ ลัก   เป็นพยัญชนะต้น จะหมายถึงการลักขโมย)
ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปวิธีการสร้างคำใหม่ ตัวสะกดมาตราต่าง    คำที่เป็นอักษรนำ การผันวรรณยุกต์ และคำควบกล้ำ ซึ่งที่สำคัญนักเรียนต้องได้รับการฝึกฝนและการปฏิบัติจริง เป็นการเพิ่มทักษะให้นักเรียนได้เป็นอย่างดี
5. สื่อและแหล่งเรียนรู้
5.1 หนังสือเรียน  เรื่อง  การประสมคำ
6. การวัดและประเมินผล
วิธีการวัดและประเมินผล
1. การสังเกต
A การอ่านคำ
A การร้องเพลง
A ความสนใจในการเรียน
A กระบวนการทำงานของแต่ละคน
2. การตรวจผลงาน
A สมุดงาน/แบบฝึกหัดชุดที่  4
A ใบงาน
เครื่องมือวัดและประเมินผล
A แบบประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมิน
A ใช้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ขึ้นไป

กิจกรรมเสนอแนะ
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………